7 ข้อที่ท่านควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้ง Solar PV Rooftop โรงงานอุตสาหกรรม

Image

Solar PV Rooftop ทำงานอย่างไร

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบ Solar PV Rooftop

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อสายส่ง (Solar Rooftop) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่สามารถติดตั้งสำหรับบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน อาคารโรงงาน หลังคาจอดรถ ซึ่งระบบจะผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ร่วมกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า ช่วยลดค่าไฟฟ้ารายเดือนของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ Solar Rooftop เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยอุปกรณ์ Inverter แล้วไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยข้อดีคือสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขายให้กับการไฟฟ้าฯ (ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการก่อน) หรือนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานเองเพื่อลดค่าไฟฟ้า หากผลิตไม่พอใช้อุปกรณ์ควบคุมก็จะนำไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้ามาใช้งานทดแทน

Solar PV Rooftop มีอุปกรณ์ประกอบระบบที่สำคัญคือ

  • แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module)
  • โครงรองรับแผง (Mounting Structure)
  • ตู้ไฟฟ้า DC BOX และตู้ไฟ AC (MDB Solar to Main Owner)
  • เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าแบบเชื่อมต่อระบบจำหน่าย (Grid-tie INVERTER)

การบำรุงรักษาระบบ Solar PV Rooftop อย่างง่าย

การทำความสะอาด แนวทางที่ถูกต้อง

  • อ่านคู่มือของแผงโซล่าร์ให้ชัดเจน ถึงวิธีการทำความสะอาด
  • สำรวจว่าได้ทำการปิดวงจรไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว และสำรวจว่าไม่มีส่วนไหนของแผง
    แตก ชำรุด ข้อต่อของสายไฟถ้าหลวมให้ทำการขันให้แน่น
  • หยิบกิ่งไม้ ใบไม้ ขยะที่ปลิวมา ออกจากแผง และตัดกิ่งไม้ที่บังแผงตามเหมาะสม
  • ทำความสะอาดด้วยผ้า หรือโฟมชุบน้ำอุ่น ผสมน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่กัดกร่อน

Image

Solar PV Rooftop
แบบไหนเหมาะกับคุณ

การติดตั้งระบบ Solar PV Rooftop

แบบผลิตเพื่อจำหน่ายไฟให้การไฟฟ้า

“ท่านต้องมีสัญญาขายไฟให้การไฟฟ้า”

การติดตั้งแบบนี้ก็เพื่อผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้กับการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยต้องมีการติดตั้งมิเตอร์แยกจากมิเตอร์ที่เราใช้ไฟจากการไฟฟ้าฯ ทั้งนี้การรับซื้อไฟต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนจำหน่ายไฟเมื่อใดและมีค่าสมทบค่าไฟฟ้าอีกเท่าใด โดยล่าสุดปิดรับสมัครเมื่อเดือน มิถุนายน ปี พ.ศ. 2558

แบบผลิตเพื่อใช้ไฟเอง

“บ้านเรือน/โรงงานที่ต้องการลดค่าไฟ”

การติดตั้งแบบนี้เพื่อลดค่าไฟฟ้า โดยเมื่อมีการใช้ไฟ มากกว่าที่ผลิตเองจากโซล่าเซลล์ ตัวอุปกรณ์ Grid-Tie Inverter ที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ก็จะทำหน้าที่ดึงกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้งานโดยอัตโนมัติ ดังนั้นก็จะทำให้ลดค่าไฟฟ้าลงได้และไม่มีข้อจำกัดเรื่องกำลังไฟไม่พอเพราะดึงจากการไฟฟ้ามาชดเชย

ซึ่งเหมาะกับโรงงานที่มีค่าไฟตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป สำหรับโรงงานที่มีการใช้โหลดช่วงกลางวันเยอะอยู่แล้ว ถ้าใช้เงินตัวเองลงทุน จะมีการคืนทุนอยู่ประมาณ 6-7 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีผลประกอบการดี มีกำไรต่อเนื่อง สามารถที่จะเช่าซื้อเครื่องจักร (Leasing) แทนการลงทุนเอง เท่ากับว่า “ท่านไม่ต้องควักเงินสักบาท” หรือลงทุนไม่เกิน “10%”

Image

Solar PV Rooftop
ติดตั้งกับหลังคาได้ทุกประเภทหรือไม่

การติดตั้งระบบ Solar PV Rooftop

หลังคาทุกประเภทสามารถติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ได้ ทั้ง Metal Sheet และ Roof slab เพราะหลังคาเป็นส่วนที่รับแรงน้อยมาก ปกติอุปกรณ์แผงโซล่าร์ที่ติดตั้งบนหลังคา จะมีโหลดประมาณ 10-12 kg ต่อตารางเมตร จะต้องมาพิจารณาแปที่รองรับว่า

  • ทำด้วยวัสดุอะไร ไม้ เหล็กกล่อง หรือรางซี เป็นต้น
  • ขนาดแปเท่าไร
  • อายุการใช้งานเท่าไร
  • ชนิดแผ่นมุงหลังคา และน้ำหนักต่อตารางเมตรโดยประมาณ

หลังจากนั้นต้องปรึกษาวิศวกรโครงสร้าง เพื่อดูว่าแปหลังคาสามารถรับโหลดได้เพิ่มอีกเท่าไรถึงจะบอกได้ว่าสามารถติดตั้งโซล่าร์เซลล์ได้หรือไม่

ข้อจำกัดในการติดตั้ง

  • พื้นที่ติดตั้งไม่ควรมีเงาบัง เช่น เงาจากอาคารสูง หรือ ต้นไม้ใหญ่
  • ไม่เหมาะกับโครงสร้างหลังคาที่ไม่สามารถรับน้ำหนักอุปกรณ์ได้ เช่น โครงไม้ เป็นต้น
  • ไม่เหมาะกับหลังคาสังกะสี หรือ หลังคาแบบลอนคู่ที่เก่าประมาณ 10 ปีขึ้นไป
Image

การรับประกันผลงาน
(System warranty)

การรับประกัน / การบริการก่อน-หลังการติดตั้ง

แผงโซล่าร์เซลล์ (PV Solar Panel) ตามมาตรฐานต้องเป็นดังนี้

  • รับประกันคุณภาพสินค้า 10 ปี
  • รับประกันประสิทธิภาพของแผง ตาม IEC Standard คือ
    • ประสิทธิภาพต้องลดลงไม่เกิน 10% ภายใน 10 ปีแรก
    • ประสิทธิภาพต้องลดลงไม่เกิน 20% ภายใน 20 ปีแรก
    • อายุการใช้งานของแผง ส่วนใหญ่จะอยู่ถึง 25 ปี

อินเวอร์เตอร์ (Solar Inverter)

ควรมีการประกันคุณภาพสินค้าเป็นเวลา 5 ปี เมื่ออยู่ในเงื่อนไขการรับประกัน ต้องมีอินเวอร์เตอร์เปลี่ยนใหม่ทันที

การรับประกันระบบ

หลังจากตรวจรับมอบงานแล้ว หากมีข้อบกพร่องหรือความเสียหายใดใดที่ทำให้ระบบทำงานไม่สมบูรณ์และไม่สามารถผลิตค่าพลังงานไฟฟ้าได้จากระบบ Solar rooftop ทางบริษัทฯ ดำเนินการแก้ไขให้ตามข้อตกลงตามสัญญา O&M โดยบริษัทฯ จะตรวจเช็คระบบให้ทุกๆ 6 เดือน

Image

สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และ BOI

ความคุ้มค่าในการลงทุน

สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร

ในการคำนวณภาษีเงินได้ ปี 2560 *ใช้สิทธิ์ลงทุนในทรัพย์สินประเภท "โซลาร์รูฟ" สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินลงทุน สำหรับการคำนวณ ภงด.50 ประจำปี

สิทธิประโยชน์ทางภาษี (BOI)

  • สามารถลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้เป็นเวลา 3 ปี มูลค่าสูงถึง 50 % ของเงินลงทุน
  • ใช้ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มของเครื่องจักรนำเข้า
Image

การขออนุญาตและการดำเนินการ
ก่อน-หลังการติดตั้ง

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบ Solar PV Rooftop

เมื่อผู้ยื่นคำขอจำหน่ายไฟฟ้าผ่านการคัดเลือกจาก กฟน. หรือ กฟภ. แล้ว สามำรถเริ่มดำเนินการขออนุญาตตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

การขออนุญาตก่อนติดตั้ง Solar PV Rooftop

  • การขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร (อ.1)
  • การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า (ร.ง.4)
  • กรณีที่อาคารตั้งอยู่ในพื้นที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

การขออนุญาตหลังจากติดตั้ง Solar PV Rooftop

  • การขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2)
  • การแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต

Download เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ที่ เว็บไซต์คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ERC)

Image

นโยบายเกี่ยวกับพลังงานทดแทน
ของภาครัฐ

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan) ของประเทศไทยฉบับใหม่

แนวทางการจัดทำแผน PDP ฉบับใหม่เป็นไปตามหลักการสำคัญที่ประชุม กพช. ได้ให้ไว้ ภายใต้เสาหลัก 3E ได้แก่

  • Energy Security ด้านความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า
  • Economic ด้านเศรษฐกิจ
  • Environmental Friendly ด้านสิ่งแวดล้อม

Download เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (EPPO)

Image

TOU คืออะไร

Time of Use Rate - TOU

อัตราค่าไฟฟ้า ตามช่วงเวลา ของการใช้ หรือ ทีโอยู (Time of Use Rate - TOU) เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 โดยขณะนั้นกำหนดช่วง On Peak ตั้งแต่วันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 09.00-22.00 น. และช่วง Off Peak ตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์ เวลา 22.00-09.00 น. และวันอาทิตย์ทั้งวัน

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 รัฐบาลได้ประกาศ โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ และได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ทีโอยู ให้มีช่วง Off Peak มากขึ้น คือ เพิ่มวันเสาร์ และวันหยุดราชการ (ยกเว้นวันหยุดชดเชย) ทั้งวันด้วย และกำหนดให้เป็นอัตราเลือก สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิม แต่เป็นอัตราบังคับ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า กิจการเฉพาะอย่าง (กิจการโรงแรม) และผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ 250,000 หน่วยต่อเดือนขึ้นไป หรือใช้พลังไฟฟ้าเกินกว่า 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป

TOU Rate

คือ อัตราการจัดเก็บค่าไฟฟ้าที่ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการใช้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

  • On Peak ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-22.00 น.
  • Off Peak ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 22.00-09.00 น.
  • และวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดราชการ (ไม่รวมวันหยุดชดเชย) ทั้งวัน

ทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์จาก TOU

อัตรา TOU สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ เมื่อมีการบริหารการใช้ไฟฟ้าที่ดีและเหมาะสม เช่น

  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่ก่อให้เกิดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) ในช่วง On Peak (09.00-22.00 น.) เพื่อลดค่าพลังไฟฟ้า (Demand Charge)
  • ในกรณีที่กิจการนั้นมีการทำงาน 2 กะ พิจารณาเลื่อนขบวนการผลิต 1 กะ ให้ไปอยู่ในช่วง Off Peak (22.00-09.00 น.) เพื่อลดค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ในช่วง On Peak ซึ่งค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge) ในช่วง Off Peak จะถูกกว่าช่วง On Peak กว่าร้อยละ 55
  • ทำงานวันเสาร์วันอาทิตย์และวันหยุดราชการ อย่างเต็มที่ แทนวันทำงานปกติ เนื่องจากวันดังกล่าว ไม่ต้องเสียค่าพลังไฟฟ้า และค่าพลังงานไฟฟ้า จะถูกกว่าวันปกติในช่วง On Peak กว่าร้อยละ 65

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง การนำเอาเทคโนโลยี ในการประหยัดพลังงาน ที่เหมาะสม มาใช้ควบคู่กัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า

Image

ถามตอบกับ Solartron

Q&A with SOLARTRON

ถาม: ในส่วนของการติดตั้งหลังคา Solar Roof สำหรับสำนักงาน ชุดใหญ่ที่สุดอยู่ที่ 25 kw ใช่หรือไม่ครับ?

ตอบ: สามารถติดตั้งได้หลายขนาดคะ ขึ้นอยู่กับข้อมูล Load profile ของลูกค้าว่าใช้ไฟฟ้าเยอะแค่ไหน โดยสามารถออกแบบได้ให้เหมาะสมกับการใช้ไฟฟ้าของลูกค้า สามารถติดตั้งได้หลายขนาดตั้งแต่ขนาด 5 , 10, 20, 25 kW ถึง 1,000 kWp หรือ 1MW ก็ได้คะ แต่ควรเลือกใช้อินเวอร์เพื่อเชื่อมต่อตาม List of Inverter ของ MEA and PEA นะคะ

ถาม: อยากทราบสัดส่วนพื้นที่ โดยประมาณต่อ 10 kw ครับ?

ตอบ: ขนาด 100 sq.m. (ใช้พื้นที่ได้ประมาณ 10 ตร.ม. ต่อ กิโลวัตต์)

ถาม: ถ้าผมมีพื้นที่สักประมาณ 150-200 ตรม น่าจะติดตั้งได้กี่ kw ครับ และค่าติดตั้งทั้งหมด ประมาณเท่าไรครับ?

ตอบ: กรณีพื้นที่เป็นดาดฟ้าไม่มีเงาบังสามารถติดได้ 15 – 20 kWp คะ แต่ถ้าเป็นหลังคาจั่วคงต้องดูอีกครั้ง ว่าทิศทางเหมาะสมหรือไม่ โดยเลือกหลังคาฝั่งทิศใต้เป็นหลักจะดีที่สุด หลังคาเอียงประมาณ 5-20 องศา ดีสุด โดย 1 kWp จะใช้พื้นที่ได้ประมาณ 10 ตร.ม. ต่อ กิโลวัตต์คะ
ดังนั้น มีพื้นที่ที่จะติดตั้งเท่าไร ก็หาร 10 ตร.ม. ได้เลยคะ ก็จะรู้ว่าติดตั้งได้กี่กิโลวัตต์

ถาม: พื้นที่ติดตั้ง ควรจะรับน้ำหนักได้เท่าไรครับ?

ตอบ:

  • กรณีที่พื้นที่ติดตั้งหลังคาเป็นดาดฟ้า หรือพื้นคอนกรีตสามารถติดตั้งได้เลยไม่ต้องกังวล
  • กรณีหลังคาที่จะติดตั้งเป็นเมททัลชีท หรือกระเบื้องหรืออะไรก็ตามที่เป็นโครงสร้าง แป
    จันฑัน ควรมีความสามารถที่จะรองรับ Dead Load เพิ่มเติมอีกไม่ต่ำกว่า 10-12 kg/sq.m. นะคะ ทั้งนี้ควรปรึกษากับวิศวกรโยธาฯ เพื่อให้คำนวณเผื่อหากยังไม่เริ่มก่อสร้าง หรือหากสร้างแล้วให้คำนวณเพิ่มเติมว่าจะสามารถรองรับน้ำหนักได้หรือไม่คะ

ถาม: benefit ในด้านภาษีพอจะทราบไหมครับว่ามีอะไรบ้าง?

ตอบ: ปัจจุบันไม่มีคะ อาจจะได้สิทธิด้าน BOI ที่เกี่ยวข้องแต่ต้องอยู่ในรายการ BOI
ให้การสนับสนุนด้วยนะคะ

ถาม: เรื่องการ Finance ทาง Solartron มี Partner ภาคการเงินไหมครับที่ติดต่อขอสินเชื่อง่ายทางผมที่ใช้ปรกติจะเป็น SCB ส่วน leasing มักจะใช้ Thai Orix?

ตอบ: เรามีแนะนำลูกค้าทางด้าน Leasing ค่ะ ปัจจุบันนอกจาก 2 รายข้างบน มี Kbank ด้วยค่ะ แต่ Bank จะพิจารณาตามเครดิตของลูกค้านั้นๆ คะ